Sunday, April 19, 2009

กฎ 10 ข้อเพื่อการเทรด Forex ให้ได้กำไร (John Murphy's Ten Laws of Technical Trading)

วันนี้ผมขอเสนอ "กฎ 10 ข้อเพื่อการเทรด Forex ให้ได้กำไร" เป็น 10 ข้อที่ดีมากสำหรับ Technical Analysis ครับ

คือ ถ้าเราสามารถทำตามนี้ได้นั้น ผมเชื่อว่าอย่างน้อยๆ เราแทบจะไม่ขาดทุน หรืออาจจะกำไรด้วยซ้ำไปครับ ขอแค่อย่าพยายาม "เดา" เอาเองว่ามันน่าจะขึ้น หรือมันน่าจะลงครับ ให้เราดูจากสัญญาน Indicators และก็อีกหลายๆ อย่างใน 10 ข้อนี้เป็นตัวชี้นำ หรือแนวทางครับ (เพราะหลายๆ ครั้งที่ ติดลบตัวแดง หรือขาดทุน ส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าน่าจะมาจากการตัดสินใจในการ "เดา" เอาเองของเรามากกว่า โดยไม่รอสัญญานจาก Indicators และอีกหลายๆ อย่างประกอบครับ)

กฎ ทั้ง10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป็นรูปแบบได้ ซึ่งในกฎเหล่านี้จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม , หาจุดกลับตัว, ติดตามค่าเฉลี่ย, มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ
หากท่านสามารถเข้าใจและ ปฎิบัติตามหลักการเหล่านี้ได้ผมเชื่อว่าท่าน ก็สามารถเอาตัวรอด ด้วยการลงทุนโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้ครับ

มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

1. ตามแนวโน้ม
ศึกษากราฟระยะ ยาว เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์กราฟรายเดือน และรายสัปดาห์ ด้วยการดูย้อนหลังหลายปี โดยการทำแบบนี้ จะทำให้มีมุมมอง ระยะยาว ต่อตลาดได้ดีขึ้น ขณะที่ศึกษากราฟระยะยาวจบแล้ว ควรศึกษากราฟรายวัน และกราฟเทรดภายในวัน การดูกราฟระยะสั้นเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดได้ แม้ว่าคุณจะทำการซื้อขาย ในระยะที่สั้นมากๆ ก็ตาม คุณจะซื้อขายได้กำไรมากขึ้น ถ้าคุณซื้อขายในทิศทางเดียวกับแนวโน้มระยะกลาง และระยะยาว...

2. พุ่งเป้าไปที่แนวโน้ม และไปกับมัน
ตัดสิน แนวโน้ม และซื้อขายตามแนวโน้มตลาด แนวโน้มตลาดแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เริ่มแรก ควรที่จะใช้กราฟก่อนที่จะเทรด คุณต้องแน่ใจก่อนว่า คุณทำตามทิศทางเดียวกับในแนวโน้มตลาด ซื้อเมื่อแนวโน้มขึ้น ขายเมื่อแนวโน้มลง ถ้าคุณเทรดในระยะกลาง ควรใช้กราฟวัน และรายสัปดาห์ ถ้าคุณเดย์เทรด ควรใช้กราฟวัน และกราฟการซื้อขายภายในวัน แต่ในแต่ละกรณี ควรใช้กราฟระยะยาว ตัดสินแนวโน้ม และใช้กราฟระยะสั้น ตัดสินช่วงจังหวะเวลาซื้อขาย...

3. หาจุดต่ำสุด และสูงสุดของมัน
หา ระดับแนวต้าน (Resistance) และแนวรับ (Support) ตำแหน่งที่ดีสำหรับการซื้อคือ ซื้อใกล้กับแนวรับ โดยที่แนวรับนั้น ใกล้เคียงกับจุดต่ำสุดของเดิม ตำแหน่งที่ดีสำหรับการขายคือ ใกล้เคียงกับแนวต้าน (ตีความได้ว่า น่าจะไม่ใช่ที่แนวต้านพอดี) แนวต้านปรกติแล้ว คือจุดสูงสุดเดิม หลังจากผ่านแนวต้านไปได้จะทำให้เกิดแนวรับใหม่ตรงจุดที่ผ่านไป หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ราคาตรงแนวต้านที่ผ่านไป จะเป็นราคาต่ำสุดใหม่ (แนวรับในอนาคต) ในอีกขณะ ที่เมื่อแนวรับถูกทำลาย ราคาตรงตรงนั้นจะกลายเป็น จุดสูงสุดใหม่ (แนวต้านในอนาคต)...

4. เราจะมองย้อนหลังกลับไปอย่างไร
เราจะใช้การวัดเปอร์เซนต์ Retracement การที่ตลาดขึ้นหรือลง โดยปรกติจะเป็นสัดส่วนจาก แนวโน้มเดิม

ดู ที่รูปนะครับ จะเป็น USD/JPY ที่กราฟ M15 แนวโน้มเดิมคือขึ้น ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแนวโน้ม กลับตัวเป็นลง เราสามารถคาดการณ์ แนวต้าน 23.6% 38.2% 50% 61.8% 100% ในกรณีนี้ Rebound ที่ระดับ 23.6%



(คำแนะนำทางทฤษฎี : คุณสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงได้จากแนวโน้มที่เป็นอยู่ ในรูปแบบของ % ง่ายๆ 50% Retracement ในแนวโน้มหลัก ถือเป็นระดับปรกติ ระดับน้อยที่สุด คือ 1 ใน 3 ของแนวโน้มหลัก ระดับมากที่สุดคือ 2 ใน 3 ของแนวโน้มหลัก Retracement แบบ Fibonacci ระดับ 38.2% และ 61.8% ก็น่าสนใจ ในขณะที่เปลี่ยนเป็นแนวโน้มขึ้น จุดซื้อควรเป็นระดับที่ 33-38%)...

5. ลากเส้น
วาด เส้นแนวโน้ม (Trendline) เส้นแนวโน้มเป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดในเครื่องมือแบบกราฟ สิ่งที่คุณต้องการคือ เส้นตรง 1 เส้น และจุดสองจุดบนกราฟ เส้นแนวโน้มขึ้นลากจาก จุดต่ำสุด 2 จุด เส้นแนวโน้มลง ลากจากจุดสูงสุด 2 จุด ราคามักจะถูกดึงกลับไปที่เส้นแนวโน้ม ก่อนที่จะไปตามแนวโน้มต่อไป โดยการขึ้นลงผ่านเส้นแนวโน้มนั้น ปรกติจะถือว่าเป็นการเปลี่นแนวโน้ม เส้นแนวโน้มที่ใช้ได้ มักจะถูกทดสอบอย่างน้อย 3 ครั้ง เส้นแนวโน้มระยะยาว จะมีประสิทธิภาพมาก และยิ่งจำนวนครั้งที่ถูกทดสอบมีมากเท่าไหร่ ความสำคัญก็จะยิ่งมีมากขึ้น...

6. ตามค่าเฉลี่ย
ค่า เฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) จะให้สัญญาณเป้าหมาย ซื้อและขาย ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะบอกคุณว่า แนวโน้มยังอยู่ในแนวโน้มเดิม และช่วยในการทำให้แน่ใจถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม แม้ว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะไม่สามารถบอกคุณถึงอนาคตล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแนวโน้มตามค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่า สนใจ การผสมผสานของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 ค่า เป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมมาก สำหรับใช้หาสัญญาณซื้อ และสัญญาณขาย การผสมผสานสัญญาณซื้อ-ขาย ที่เป็นที่นิยมกันคือ 4 กับ 9 วัน , 9 กับ 18 วัน , 5 และ 20 วัน จะให้สัญญาณเมื่อ เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่า ตัวอย่างเช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 วัน (ระยะสั้น) ตัดเส้นค่าเฉลี่ย 9 วัน (ระยะยาวกว่า) ขึ้น หมายถึงสัญญาณซื้อ เมื่อราคาตัดสูงขึ้น (สัญญาณซื้อ) หรือต่ำกว่า (สัญญาณขาย) ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 40 วัน ถือว่าเป็นสัญญาณซื้อขายที่ดี โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะเป็นตัวชี้การเป็นไปตามแนวโน้ม ซึ่งวิธีการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เหล่านี้จะดีที่สุดใน ตลาดที่มีแนวโน้มอย่างชัดเจน...

7. เรียนรู้การเปลี่ยนแนวโน้ม
ตรวจ ดูเครื่องมือ Oscillators ต่างๆ เครื่องมือ Oscillators นั้น ช่วยในการหาตลาดที่เกิดภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) และตลาดที่เกิดภาวะขายมากเกินไป (Oversold) ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ให้ความแน่ใจในการเปลี่ยนแนวโน้มตลาด เครื่องมือ Oscillators จะเป็นตัวบอกว่าตลาดจะขึ้นหรือลงมากขึ้น หรือจะกลับตัวในไม่ช้า ที่เป็นที่นิยมมากคือ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastics ทั้งสองค่านี้เป็นที่นิยมใช้ในสเกล 0 ถึง 100 ค่า RSI ที่มีค่ามากกว่า 70 ถือว่าเป็นภาวะที่ซื้อมากเกินไป (Overbought) ขณะที่ถ้าอ่านค่าได้ต่ำกว่า 30 ถือเป็นภาวะที่ขายมากเกินไป (Oversold) การซื้อหรือขายมากเกินไป สำหรับ Stochastic คือ 80 และ 20 คนส่วนใหญ่นิยมใช้ค่า 14 วัน หรือสัปดาห์ สำหรับ Stochastic และ 9 หรือ 14 วัน หรือสัปดาห์ สำหรับ RSI เมื่อตัว Oscillator เกิด Divergence บ่อยครั้ง จะแสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ ใช้ได้ดีสุดในตลาดที่ไม่มีแนวโน้ม (Sideway) สัญญาณรายสัปดาห์จะใช้กรองสัญญาณรายวัน สัญญาณรายวันสามารถใช้ในการกรองสัญญาณภายในระหว่างวัน...

8. เรียนรู้ สัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นการรวมระบบการตัดกันของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ด้วยการวัดระดับภาวะซื้อเกินไป (Overbought) และขายเกินไป (Oversold) สัญญาณซื้อจะเกิดขึ้นเมื่อ สัญญาณที่เร็วกว่าตัดสัญญาณที่ช้ากว่า และเส้นทั้งสองเส้นต่ำกว่า 0 สัญญาณขายคือ สัญญาณที่ช้ากว่าตัดสัญญาณที่เร็วกว่า และค่าทั้งสองค่า มากกว่า 0 สัญญาณรายสัปดาห์ถือว่ามีความสำคัญเหนือกว่า รายวัน MACD Histogram วาดความแตกต่างระหว่าง 2 เส้น และให้การเตือนก่อนถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม มันถูกเรียกว่า Histogram เนื่องจากระดับความสูงของแท่ง แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง 2 เส้นบนกราฟ...

9. มีแนวโน้ม หรือไม่มีแนวโน้ม
ใช้ Average Directional Movement Index (ADX) ใช้เส้น ADX ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าตลาดในขณะนั้นมีแนวโน้ม หรือไม่มีแนวโน้ม มันวัดถึงระดับการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม และทิศทางของตลาด การเพิ่มขึ้นของเส้น ADX ชี้ให้เห็นถึงการมีแนวโน้มที่มากขึ้น การลดลงของ ADX ชี้ให้เห็นถึงการที่ตลาดไม่มีแนวโน้ม การเพิ่มของ ADX แสดงให้เห็นว่า ควรใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นตัวชี้วัด การลดลงของ ADX แสดงให้เห็นว่า ควรใช้ค่า Oscillators ด้วยการลากทิศทางของเส้น ADX ผู้ซื้อขายสามารถตัดสินใจระหว่าง สไตล์ในการซื้อขาย และอะไรเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับภาวะในตลาดในขณะนั้น...

10. เรียนรู้ถึงการสนับสนุนสัญญาณการซื้อขาย
ปริมาณ การซื้อขาย (Volume) สิ่งที่สนับสนุนสัญญาณการซื้อขายนั้น ประกอบด้วยปริมาณการซื้อขายรวม และปริมาณการซื้อขายขณะเปิดทำการ เป็นสิ่งที่สนับสนุนสัญญาณการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ปริมาณการซื้อขายรวมมีความสำคัญมาก่อนราคา ปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นจะทำให้เชื่อได้ว่าชักจูงสู่แนวโน้ม ในขณะที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ปริมาณการซื้อขายรวมควรมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายขณะเปิด เป็นสิ่งที่สนับสนุนว่า เงินใหม่ได้เข้ามาสู่ หรือชักจูงเข้ามาสู่แนวโน้ม การที่ปริมาณซื้อขายขณะเปิดลดลงบ่อยครั้ง จะเป็นการเตือนว่าแนวโนมโน้มใกล้จบลง ราคาที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ควรมีทั้งปริมาณการซื้อขายรวมที่มากขึ้น และปริมาณการซื้อขายขณะเปิดทำการ...


*** การศึกษาทางเทคนิค เป็นทักษะที่ทำให้ดีขึ้นได้ ด้วยประสบการณ์ และการศึกษา ดังนั้นควรศึกษา และเรียนรู้ตลอดเวลา ***

ที่มา ForexRichClub

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ นักเทรดทุกท่านนะครับ ขอให้เทรดได้กำไรเยอะๆ นะครับ และอย่าลืม "ลงทุนอย่างมีสติ"

3 comments:

Nikolai Deville said...
This comment has been removed by a blog administrator.
teya said...

very good informaion...เพิ่งจะเริ่มศึกษาค่ะ ฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยนะคะ

จำหน่ายข้อมูลย้อนหลัง Forex said...

จำหน่ายข้อมูลย้อนหลัง historical data เพื่อทำ Backtest สำหรับโปรแกรม MT4 ข้อมูลประมาณ 10 ปี มีหลายสกุลเงิน และ Timeframe ตั้งแต่ปี 2007-ถึงอัฟเดตสัปดาห์ล่าสุด ข้อมูลมีคุณภาพ ใช้งานได้ทันที

กลุ่มผลิตภัณฑ์
=> FOREX DATA เช่น AUD USD,
=> METALS เช่น COPPER, GOLD
=> COMMODITY เช่น COFFEE, CORN, OIL
=> INDEX เช่น DAX, DOW JONES,

สามารถดูได้ที่เว๊ป
www.forexhistorydata.blogspot.com